หน้าแรก    • ธนาคารกลาง  • ห้องแช็ท  • วิทยุออนไลน์  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปตท มศว จัดเสวนา "อนาคตพลังงานไทยกับการเข้าสู่ AEC:เพียงพอ หรือ ขาดแคลน ?  (อ่าน 4968 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้


Thailand
 2
 3
 0



Windows 7/Server 2008 R2 Firefox 17.0
« เมื่อ: ธันวาคม 17, 2555, 09:36:59 PM »


นักวิชาการชี้นโยบายเศรษฐกิจพลังงานไทยหลังเข้า AEC ยังไม่เพียงพอ
วอนภาครัฐปรับแผนพลังงานสร้างความยั่งยืน
พร้อมชวนภาคประชาชนใช้พลังงานอย่างประหยัด


                 ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระดม นักวิชาการ พร้อมผู้แทนองค์กรเศรษฐกิจพลังงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง จัดเสวนานโยบายเศรษฐกิจพลังงานส่งท้ายปี ชูประเด็นวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจพลังงานของประเทศไทย หลังเข้าประชาคมอาเชียน AEC จะยังคงสถานการณ์พลังงานยังไม่เพียงพอต่อไป  เนื่องด้วยความต้องการพลังงานในประเทศมีเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานนำเข้าต่อไป วอนภาครัฐเตรียมรับมือปรับนโยบายพลังงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่การแข่งขันสูงขึ้น  พร้อมชวนภาคประชาชนร่วมมือกันใช้พลังงานอย่างประหยัดและรู้คุณค่า
      ดร.คุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน  เป็นประธานกล่าวเปิดงานเสวนานโยบายเศรษฐกิจพลังงาน โดยกล่าวว่า  การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมพลังงานและประชาชนคนไทยเพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเข้า สู่ประชาคมอาเซียน AEC นั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเร่งทำความเข้าใจ  สร้างองค์ความรู้  พร้อมปลูกฝังแนวคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมในการบริโภคพลังงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ทั้งในด้านของอุตสาหกรรมพลังงานที่จะต้องแสวงหาแหล่งพลังงานที่ใหม่ๆ การหาพลังงานทดแทน ตลอดจนหาพลังงานประยุกต์จากประเภทอื่นๆ ในขณะที่ภาคประชาชนที่เป็นผู้บริโภคพลังงานก็ต้องรู้จักประหยัด และ ใช้พลังงานให้คุ้มค่า เพื่อให้ประเทศเราสามารถแข่งขันและลดช่องว่างในทางเศรษฐกิจจากประเทศคู่แข่งอื่นๆในประชาคมอาเซียนได้
               ดร.พิชญ์  นิตย์เสมอ รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง,  คุณหิน  นววงศ์  รองประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรร, รศ.ดร. ชโยดม  สรรพศรี นักวิชาการ,   เปิดเผยว่า  ในปี 2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) โดยการเปิดเสรีภายใต้ AEC จะก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ตลอดจนทุนและแรงงานได้อย่างเสรีมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม แต่ก็จะทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียน เพื่อเป็นฐานการผลิตสินค้าและบริการในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคพลังงาน ซึ่งไทยถือเป็นประเทศนำเข้าพลังงานสุทธิที่สูงเป็นอันดับสองของภูมิภาครองจากประเทศสิงคโปร์ โดยมีปริมาณการนำเข้าพลังงานขั้นต้น    สูงถึง 1.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน และมีสัดส่วนการบริโภคพลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศอื่น  เมื่อเทียบกับรายได้ ตลอดจนการดำเนินนโยบายอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศของรัฐบาลที่มีมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทั้งนี้หากการอุดหนุนราคาพลังงานในระดับต่ำยังดำเนินอยู่ก็เท่ากับว่าการอุดหนุนนั้นจะแปรสภาพจากการอุดหนุนแก่ประชากรไทย 60 ล้านคน เป็นการอุดหนุนแก่ประชากรอาเซียนทั้ง 600 ล้านคน ซึ่งจะยิ่งทำให้ประเทศต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนพลังงานที่รวดเร็วกว่าเดิมได้ในอนาคต
                 ขณะที่ภาครัฐได้ดำเนินนโยบายแผนด้านพลังงาน ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ        ฉบับที่ 11 โดยดันยุทธศาสตร์ แผนจัดหาพลังงานเพื่อความมั่นคงฯ ภายใน 15 ปี, แผนส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด, แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานฯ และ แผนส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาฯ  ในขณะที่ภาพรวมราคาน้ำมันดิบและเชื้อเพลิงเหลวมีราคาสูงขึ้น ประกอบกับประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้พลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่งที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานรวมกันสูงถึงกว่าร้อยละ 70 และภาคส่วนอื่นๆ รวมกันอีกประมาณร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้นำเข้าพลังงานชนิดต่างๆ ทั้ง ไฟฟ้า, ถ่านหิน, ก๊าซธรรมชาติ, น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เพื่อรองรับการใช้งานภายในประเทศ
      จากการคาดการณ์ดังกล่าวนี้ ทางนักวิชาการพลังงานจึงเล็งเห็นว่าแนวโน้มสถานการณ์พลังงานและผลกระทบต่อภาคธุรกิจหลังการเข้าสู่ AEC นั้น ย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน  โดยจะมาจากปัญหาการแข่งขันที่สูงขึ้น ทำให้พลังงานที่เป็นปัจจัยสำคัญด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรมจะถูกนำมาใช้เป็นตัวแปรในการแข่งขัน  ดังนั้น ภาครัฐจึงจำเป็นต้องวางแนวทางการปรับโครงสร้างราคาพลังงานที่เหมาะสมเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC ในอนาคต  พร้อมทั้งต้องเร่งบริหารจัดการพลังงาน (Demand Side Management) เพื่อการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ โดยอาจจะต้องนำร่องนโยบายเร่งด่วนในการสนับสนุนพลังงานทดแทน หรือ พลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อรองรับการขาดแคลนพลังงานหลักในอนาคต  ตลอดจนเตรียมมาตรการรับมือและแนวทางการเตรียมความพร้อมต่อ AEC ของภาครัฐและเอกชนต่อไป

เสวนานโยบายเศรษฐกิจพลังงานประจำปี

ดร คุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน

ดร โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน

ดร พิชญ์ นิตย์เสมอ รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง 

รศ.ดร.ชโยดม สรรพศรี  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

***********************************************************
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม-ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
นิพนธ์ เปาอินทร์,ฉัตรปวีร์  ณัฐนิธิ,และกาญจนา พุ่มพวง  โทร 089-496-6701,085-075-1390
Email: zimple.ad@gmail.comaey.natniticlub@gmail.com






1 Fame / [Mayonnon ]

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.13 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Sitemap Valid XHTML 1.0! Valid CSS!


Google visited last this page สิงหาคม 29, 2567, 12:28:44 AM