หน้าแรก    • ธนาคารกลาง  • ห้องแช็ท  • วิทยุออนไลน์  • ช่วยเหลือ  • ค้นหา  • เข้าสู่ระบบ  • สมัครสมาชิก  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วงการ คาราโอเกะ หากินลำบากแล้วครับ  (อ่าน 8308 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้


Thailand
 10
 4
 0



Windows XP Chrome 29.0.1547.76
« เมื่อ: กันยายน 26, 2556, 07:29:57 PM »

15บริษัทประกาศอัตราจัดเก็บลิขสิทธิ์เผยแพร่-แสดงสดแล้ว
หลังจากบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)ได้ประกาศเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงในกรณีที่เพลงถูกนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนและนำไปใช้ในการแสดงสดบนเวทีต่างๆ นั่นหมายถึงว่า ต่อไปนี้ หากผู้ใดมีการนำเพลงที่บริษัทเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ไปเผยแพร่ เช่น ตามร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า สถานบันเทิง สถานีวิทยุ ฯลฯ และการนำเพลงไปทำการแสดงสดบนเวทีต่างๆ โดยเน้นที่การนำไปใช้ในเชิงการค้า จะต้องได้รับอนุญาต และจะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ด้วย
ล่าสุดทีมข่าวบันเทิง "คม ชัด ลึก” ได้ตรวจสอบเว็บไซต์ของทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาพบว่า ขณะนี้มี 15 บริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์ รวมถึงบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ทยอยประกาศอัตราการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์กันแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา เท่ากับว่าขณะนี้ เกือบทุกบริษัทได้ดำเนินการจัดเก็บเรื่องแสดงสดเหมือนกันแล้ว ซึ่งทีมข่าวได้สัมภาษณ์ในส่วนของบริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด หรือ TCC กับชัวร์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งมีเพลงลูกทุ่ง เพื่อชีวิตมากมาย ถึงเรื่องการจัดเก็บดังกล่าว
สุทธิศักดิ์ ประศาสน์ครุการ กรรมการและผู้อำนวยการสายงานกฎหมายและปราบปราม บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด หรือ TCC ในเครือบริษัท อาร์เอส จำกัด กล่าวถึงการประกาศการจัดเก็บครั้งนี้ว่า
“ที่เห็นประกาศคือ จากเดิมมีบริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น 32 บริษัท ตอนนี้เหลือเพียง 15 บริษัทจัดเก็บเท่านั้น ทำให้เห็นชัดเจนว่า มีบริษัทอะไรบ้าง ในส่วนของการจัดเก็บลิขสิทธิ์เผยแพร่ของค่ายอาร์สยามนั้น ถ้าเจ้าภาพที่จ้างศิลปินอาร์สยามไปทำการแสดง เราไม่ได้ชาร์จ(คิดเงินเพิ่ม)เรื่องการจัดเก็บลิขสิทธิ์เพราะคุณว่าจ้างงานเราแล้ว ส่วนพวกร้านค้าหรือสถานที่ประจำที่จะนำเพลงเราไปใช้แสดง อันนี้เราเก็บโดยใช้วิธีการเหมาจ่ายต่อปี
อีกประเภทหนึ่งคือ กลุ่มทัวร์คอนเสิร์ตขายสินค้า เราจะเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่ทำการแสดงต่อครั้ง ต่อเพลง ซึ่งลิขสิทธิ์เผยแพร่เพลงกับลิขสิทธิ์แสดงสดคืออันเดียวกัน ต่างกันแค่รายละเอียดของอัตราการเก็บเท่านั้น ผู้ประกอบการต้องดูว่า ท่านใช้เพลงของใครก็จ่ายกับบริษัทนั้น และควรติดต่อกับบริษัทเจ้าของสิทธิ์ในกรณีที่ไม่เข้าใจหรือสงสัย อย่าเชื่อข่าวลือที่ปล่อยออกมาทุกบริษัทจัดเก็บเขาไม่ได้เก็บแพงอย่างที่เข้าใจกันหรอกครับ”
ด้าน โรม โรจนะ ผู้บริหารและดูและด้านลิขสิทธิ์เพลงบริษัท ชัวร์เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด กล่าวถึง การประกาศการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ทั้งเรื่องการแสดงสดและการใช้งานในส่วนของฟรีทีวี ทีวีดาวเทียม หรือสื่ออื่นๆ ว่า
"หลักการในการจัดเก็บลิขสิทธิ์ของบริษัท ชัวร์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ถ้าใช้ในเชิงพาณิชย์หรือเชิงการค้าจะต้องมีการขออนุญาตตามกฎเกณฑ์ของบริษัทชัวร์ฯ การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ก็จะมีลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี การแสดงสดของร้านอาหารเก็บแบบเหมาจ่ายแบบเป็นปีกับรายเดือนแล้วแต่"
ในส่วนของการแสดงสดบนเวทีนั้น ผู้บริหารและดูแลด้านลิขสิทธิ์เพลงบริษัท ชัวร์เอ็นเตอร์เทนเมนท์บอกอย่างชัดเจนว่า
“ส่วนการแสดงสด แสดงคอนเสิร์ต ต้องเป็นเพลงชัวร์ ศิลปินชัวร์ที่มีสัญญากับชัวร์ฯ ณ ปัจจุบันเท่านั้น เราไม่อนุญาตให้ใช้ในการแสดงสดที่มีการเก็บค่าชมหรือมีรายได้จากการแสดงสดนั้นๆ ยกเว้นการแสดงสำหรับกิจกรรมใดๆ ก็ตามของสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์ซึ่งเป็นฟรีคอนเสิร์ต ให้ทำจดหมายขออนุญาตเป็นครั้งๆ ไป ถ้าเกิดเปิดคอนเสิร์ตการแสดงสดหรือเปิดคอนเสิร์ตเพื่อผู้ใดผู้หนึ่งหรือมีผลประโยชน์ เราไม่อนุญาตทั้งสิ้น ใช้เพื่อประกอบกิจการของสถานีโทรทัศน์ ทีวีดาวเทียม หรือรายการต่างๆ ก็ต้องมีจดหมายขออนุญาตเป็นครั้งๆ การแสดงสดของหน่วยงานเอกชนใดๆ ทั้งสิ้นก็ต้องมีจดหมายขออย่างเป็นทางการมาเป็นครั้งๆ ทุกกรณีต้องติดต่อบริษัทหมด แต่บริษัทจะอนุญาตให้ใช้ได้เลยในกรณีที่ไม่ใช่การค้า"
รายชื่อบริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์ที่ประกาศอัตราการจัดเก็บ
1.บริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด ประกอบด้วยเพลงของบริษัท โซนี่ มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ โอเปอเรติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท วอร์นเนอร์ มิวสิค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ยูนิเวอร์ซัล มิวสิค (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 5,605,201 เพลง
2.บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด จำนวน 16,608 เพลง
3.บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีบริษัทค่ายเพลงในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ รวมทั้งค่ายเพลงและครูเพลงที่เป็นสมาชิก จำนวน 24,074 เพลง
4. บริษัท บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา จำกัด มีเพลงจาก บริษัท เกสส์ มิวสิค จำกัด บริษัท พี.จี.เอ็ม.เรคคอร์ด จำกัด บริษัท เอ็ม. ดี. เทป 2009 จำกัด บริษัท ฝนจาง เรคคอร์ด จำกัด บริษัท พีพีเอส โปรโมชั่น จำกัด นายพศ กัลยาณสันต์ จำนวน 4,873 เพลง
5.ห้างหุ้นส่วนจำกัด จัดเก็บลิขสิทธิ์สุรพล จำนวน 1,340 เพลง
6.บริษัท ซี.เอ็ม.ซี.เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด จำนวน 595 เพลง
7. บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ เอส พี ซี จำกัด มีเพลงจำนวน 48 เพลง
8.บริษัท อาร์เอ็มเอส พับลิชชิ่ง จำกัด จำนวน 17,359 เพลง
9.บริษัท พาร์ทเนอร์ สมาย จำกัด มีเพลงจำนวน 4,195 เพลง
10.บริษัท วี.พี.พี. เซนเตอร์ มิวสิค จำกัด มีเพลง จำนวน 1,287 เพลง บริษัท รถไฟดนตรี (1995) จำกัด จำนวนเพลง 5,913 เพลง
11.บริษัท ลิขสิทธิ์เซ็นเตอร์ จำกัด จำนวน 5,027 เพลง
12.บริษัท ลิขสิทธิ์เพลง จำกัด ซึ่งประกอบด้วยบริษัทชัวร์เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด บริษัท ท็อปไลน์ มิวสิค จำกัด บริษัท นพพร ซิลเวอร์โกลด์ จำกัด รวมเพลงจำนวน 9,314 เพลง
13.บริษัท อินเตอร์ มิวสิค ก๊อปปี้ไรท์ จำกัดจำนวน 12,538 เพลง
14.บริษัท เค-ที พับลิชชิ่ง จำกัด จำนวน 10,858 เพลง
15.บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด จำนวน 16,608 เพลง







บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.13 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Sitemap Valid XHTML 1.0! Valid CSS!


Google visited last this page กันยายน 19, 2567, 05:35:55 PM